ถาม-ตอบ ข้อสงสัย (Q&A) : รักษาพยาบาล

ลำดับ

ถาม-ตอบ ข้อสงสัย

ข้อมูล ณ วันที่

1)

ถาม  :  ค่ารักษาพยาบาล กรณีเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลเอกชน ต้องมีหนังสือรับรองกรณีหากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพื่อประกอบการเบิกจ่ายหรือไม่ ?


ตอบ :  ไม่ต้องมีหนังสือรับรอง แต่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากระบบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency Preauthorize) ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ว่า “เข้าเกณฑ์เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน” กรณีผู้ป่วยหรือบุคคลในครอบครัว เข้ารับการรักษาด้วยตนเองหรือโดยการส่งตัวให้เข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลเอกชน

1. ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉิน จนกว่าจะได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้ทำการรักษาว่าพ้นภาวะวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายไปยังสถานพยาบาลของทางราชการได้ ทั้งนี้ ไม่เกิน 72 ชั่วโมงนับแต่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้ารับการรักษาบาลในสถานพยาบาลเอกชน 

2. กรณีได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้ทำการรักษา ว่าพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายกลับไปยังสถานพยาบาลของทางราชการได้ แต่ปฏิเสธการย้าย ผู้มีสิทธิ์ไม่ได้สิทธิเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล นับแต่พ้นภาวะวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายกลับไปยังสถานพยาบาลของทางราชการได้ 

3. กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีความจำเป็นต้องเข้ารักษาในสถานพยาบาลของเอกชนเกิน 72 ชั่งโมง นับแต่เข้ารับการรักษาพยาบาล ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหลังเวลา 72 ชั่งโมง ดังนี้

3.1 ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า “ไม่พ้นภาวะวิกฤต และไม่สามารถย้ายกลับไปสถานพยาบาลของทางราชการได้” มีสิทธิเบิกเช่นเดียวกับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของราชการ

(1) ค่าห้องและค่าอาหาร 

   (2) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดโรค 

   (3) ค่ารักษาประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้จ่ายไปจริง 

3.2 ได้รับการวินิจฉัยว่าจากแพทย์ผู้ทำการรักษา “พ้นภาวะวิกฤต และสามารถย้ายกลับไปสถานพยาบาลของทางราชการได้ แต่ไม่มีเตียงสถานพยาบาลของราชการรับย้าย” มีสิทธิเบิกเช่นเดียวกับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของราชการ

   (1) ค่าห้องและค่าอาหาร 

   (2) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดโรค 

   (3) ค่ารักษาประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 8,000 บาท

3.3 ได้รับการวินิจฉัยจากระบบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินว่า “เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนหรือผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุ่นแรง” มีสิทธิเบิกเช่นเดียวกับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของราชการ

   (1) ค่าห้องและค่าอาหาร 

   (2) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดโรค 

   (3) ค่ารักษาประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 8,000 บาท


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. หนังพระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553
  2. หนังสือ กรมบัญชีกลาง ที่ กค 0416.4/ว 333 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในสถานพยาบาลเอกชน
  3. หนังสือ กรมบัญชีกลาง ที่ กค 0416.4/ว 76 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจกรณีการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในสถานพยาบาลเอกชน

30 ก.ย. 2564

2)

ถาม  :  คู่สมรส(ไม่ได้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยขอนแก่น) สามารถเบิกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลในส่วนของค่าสนับสนุนการตรวจสุขภาพประจำปี ของผู้มีสิทธิ์เบิก (พนักงานมหาวิทยาลัย) ได้หรือไม่ ?


ตอบ :  

1. ค่าตรวจสุขภาพประจำปี คู่สมรส ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ "เบิกได้เฉพาะผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย"

2. ค่ารักษาพยาบาล ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย และญาติสายตรงสามารถเบิกจ่ายได้ ในส่วน

2.1 เงินสนับสนุนค่ารักษาสำหรับผู้ป่วนใน เบิกจ่ายได้เฉพาะส่วนที่เกินสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลและเงินประกันชีวิต วงเงินไม่เกิน 10,000 บาทต่อปี เงินเหลือจ่ายจากปีงบประมาณนั้นๆ สะสมได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงินที่เหลือจนกระทั่งผู้ปฏิบัติงานเกษียณอายุ หรือพ้นสภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงาน

2.2 เงินสนับสนุนค่ารักษาสำหรับผู้ป่วยนอก เบิกจ่ายได้เฉพาะส่วนที่เกินสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลและเงินประกันชีวิต วงเงินไม่เกิน 2,000 บาท ต่อปี เงินเหลือจ่ายจากปีงบประมาณนั้นๆ สะสมได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงินที่เหลือจนกระทั่งผู้ปฏิบัติงานเกษียณอายุ หรือพ้นสภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงาน


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. ประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 1605/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ อัตราการจ่ายและวิธีการจ่ายเงินสวัสดิการผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ข้อ 8


3 ก.ค. 2566


บทความนี้มีประโยชน์กับท่านมากน้อยเพียงใด ?

[ ผู้โหวตทั้งหมด : 1 คะแนนเฉลี่ย : 5 ]