ลำดับ | ถาม-ตอบ ข้อสงสัย | ข้อมูล ณ วันที่ |
---|---|---|
1) | ถาม : ซื้อระบบเว็บไซต์สำหรับการรับสมัครการอบรม เพื่อให้ผู้สนใจได้สมัครเข้าร่วมการอบรมทางระบบออนไลน์ ซึ่งในอนาคตหน่วยงานสามารถปรับปรุงหน้าเว็บไซต์เป็นการรับสมัครสำหรับการอบรมในโครงการอบรมต่างๆ ได้เอง ระบบดังกล่าวหน่วยงานควรรับรู้เป็นสินทรัพย์หรือตัดเป็นค่าใช้จ่าย ? ตอบ : ระบบเว็บไซต์การรับสมัครผู้เข้าอบรม ควรจัดเป็นสินทรัพย์ประเภทสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ไม่ควรจัดเป็นค่าใช้จ่าย เพราะหน่วยงานได้รับสินทรัพย์นั้นมามีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี และหน่วยงานสามารถปรับปรุง แก้ไข พัฒนาได้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 31 มี.ค. 2563 |
2) | ถาม : การบันทึกตัดบัญชีทรัพย์สินที่ไม่จำเป็นใช้งานแล้วในทางบัญชีจะดำเนินการอย่างไรบ้าง ? ตอบ : ให้ดำเนินการตามขั้นตอนการจำหน่ายพัสดุก่อน แล้วจึงขออนุมัติตัดจ่ายบัญชีทรัพย์สิน โดยบันทึกตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 31 มี.ค. 2563 |
3) | ถาม : รายละเอียดลูกหนี้การค้าแสดงยอดยกมาจากปีก่อนไม่ถูกต้อง (มียอดลูกหนี้การค้าน้อยกว่ายอดลูกหนี้การค้ายกมาจากปีก่อน) เนื่องจากมีการปรับปรุงค่าลูกหนี้สวัสดิการของหน่วยงาน ให้ดำเนินการอย่างไร ? ตอบ : ให้หน่วยงานตรวจสอบรายการย้อนหลัง และรายงานต่อผู้บริหารเพื่อทราบและสั่งการหรือพิจารณาปรับปรุงรายการทางบัญชีลูกหนี้การค้าให้ถูกต้อง หากดำเนินการเสร็จสิ้นให้แนบหลักฐานการปรับปรุงรายการประกอบการส่งรายงานการเงินประจำเดือนให้กับกองตรวจสอบภายใน ในเดือนที่ดำเนินการแล้วเสร็จ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 31 มี.ค. 2563 |
4) | ถาม : การหักภาษี ณ ที่จ่าย คำนวณอย่างไร ? ตอบ : 1. การจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอยู่ในไทย หากได้จ่ายเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 2. กรณีผู้จ่ายเงินเป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าซื้อพืชผลทางการเกษตรให้กับผู้รับรายหนึ่ง ๆ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง 10,000 บาท ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมิน แต่เฉพาะเงินได้ในการประกวดหรือแข่งขัน ให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 30 มิ.ย. 2563 |
5) | ถาม : 1. หน่วยงานจ่ายค่าทำประกันสุขภาพให้กับบุคลากรเฉพาะกลุ่มเป็นประจำทุกปี และบุคลากรที่เหลือมีสวัสดิการให้ 2. หน่วยงานทำเรื่องยืมเงินเพื่อให้บุคลากรไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพราะมีความจำเป็นต้องสำรองจ่ายก่อน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ทำประกันสุขภาพ กลุ่มที่ 2 ไม่ได้ทำประกันสุขภาพ ซึ่งกลุ่มที่ 2 ทางหน่วยงานจะเบิกจ่ายให้เนื่องจากเป็นสวัสดิการของหน่วยงาน 3. บุคลากรทั้ง 2 กลุ่มนำใบเสร็จรับเงินมาส่งให้เจ้าหน้าที่การเงิน เพื่อคืนเงินยืมและทำเรื่องส่งบริษัทประกัน เพื่อขอเงินผลประโยชน์ แต่บริษัทประกันยังไม่ได้จ่ายเงินให้กับหน่วยงาน ณ วันที่รับคืนเงินยืม และวันที่บริษัทประกันจ่ายเงินให้กับหน่วยงานต้องบันทึกบัญชีอย่างไร ตอบ : 1. ณ วันที่รับคืนเงินยืม จะต้องบันทึกบัญชี ดังนี้ เดบิต ลูกหนี้บริษัทประกัน (ยอดเงินของกลุ่มที่ 1) และ ค่าใช้จ่าย (ยอดเงินของกลุ่มที่ 2) เครดิต ลูกหนี้เงินยืม (ยอดเงินยืมทั้งหมด) 2. ณ วันที่บริษัทประกันจ่ายเงินให้กับหน่วยงานแล้ว จะต้องบันทึกบัญชี ดังนี้ เดบิต เงินสด/เงินฝากธนาคาร (ยอดเงินของกลุ่มที่1) เครดิต ลูกหนี้บริษัทประกัน (ยอดเงินของกลุ่มที่1) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 30 ก.ย. 2563 |
6) | ถาม : การรายงานฐานะการเงินของหลักสูตรโครงการพิเศษต้องเสนอรายงานต่อคณะกรรมการชุดใด ? ตอบ : ต้องเสนอรายงานผลการดำเนินงานและรายงานฐานะทางการเงินต่อคณบดี เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการหลักสูตรโครงการพิเศษ โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรต้องจัดทำและดำเนินการภายใน 180 วัน หลังจากวันสิ้นสุดงบประมาณรายได้ประจำปี ทั้งนี้ต้องให้สอดคล้องกับนโยบายการรายงานงบการเงินของมหาวิทยาลัยในภาพรวมด้วยให้กับกองตรวจสอบภายในเดือนที่ดำเนินการแล้วเสร็จ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 31 มี.ค. 2564 |
7) | ถาม : การบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าที่มียอดติดลบ ที่เกิดจากหน่วยงานชำระเงินค่าสินค้าแก่เจ้าหนี้ทั้งหมดแล้ว ภายหลังพบว่าสินค้ามีปัญหาได้ขอส่งคืนแก่เจ้าหนี้ไป และทำการบันทึกบัญชีลดยอดเจ้าหนี้ ทำให้เกิดยอดเจ้าหนี้การค้าติดลบ(รายตัว) รายการดังกล่าวบันทึกถูกต้องหรือไม่ และหากไม่ถูกต้องจะแก้ไขอย่างไร ? ตอบ : การชำระเงินให้กับเจ้าหนี้และบันทึกตัดยอดเจ้าหนี้การค้าถูกต้อง แต่การคืนสินค้าที่หน่วยงานจ่ายชำระค่าสินค้านั้นแล้ว ต้องเรียกให้ผู้ขายสินค้านั้นชำระค่าเสียหายคืนให้แก่หน่วยงาน จึงต้องบันทึกรายการคืนสินค้าพร้อมเรียกเงินคืน เป็นลูกหนี้การค้า หรือหากมีข้อตกลงเรื่องการขอชดใช้ด้วยการหักกับยอดซื้อในบิลถัดไป ต้องจดบันทึกข้อมูลดังกล่าวไว้และเสนอรายงานต่อผู้อำนวยการเพื่อทราบ และกรณีรายการในงบทดลองของหน่วยงานที่เป็นรายการเจ้าหนี้การค้าติดลบ ต้องตรวจสอบหาสาเหตุให้ละเอียด และจัดทำรายงานเสนอผู้อำนวยการอนุมัติเพื่อปรับปรุงรายการให้ถูกต้องต่อไป กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 31 มี.ค. 2564 |
8) | ถาม : 1. การจัดทำงบการเงินหลักสูตรโครงการพิเศษมีแนวปฏิบัติอย่างไร ? 2. การจัดทำงบการเงินหลักสูตรโครงการพิเศษ ต้องจัดทำและส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบเพื่อรับรองบัญชีหรือไม่ ? 3. หน่วยงานไม่เคยจัดทำงบการเงินหลักสูตรโครงการพิเศษมาตั้งแต่ต้น หากต้องจัดทำจะต้องตั้งค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีค้างจ่ายสำหรับงวดปีบัญชีก่อนๆ แต่ไม่ได้มีการตั้งงบประมาณไว้ตั้งแต่แรก จะดำเนินการเกี่ยวกับการตั้งค่าใช้จ่ายค้างจ่ายไว้อย่างไร ? ตอบ : 1. การจัดทำงบการเงินหลักสูตรโครงการพิเศษต้องจัดทำตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นกำหนด 2. คณะสามารถพิจารณาการดำเนินการโดยให้ผู้สอบบัญชีภายนอกเข้าร่วมตรวจสอบรายงานฐานะทางการเงินก็ได้ 3. กรณีการบันทึกบัญชีตั้งค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีค้างจ่ายย้อนหลังตั้งแต่เริ่มจัดตั้งหลักสูตร คณะสามารถอ้างอิงมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ. 2561 ย่อหน้าที่ 42 – 46 เพื่อบันทึกบัญชีได้ และต้องประมาณการรายจ่ายในงบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนงานเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 30 มิ.ย. 2564 |
9) | ถาม : การจัดทำงบการเงินหลักสูตรโครงการพิเศษ เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการหลักสูตร หากหน่วยงานไม่ประสงค์ให้ผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอกร่วมตรวจสอบรายงานฐานะการเงิน ต้องใช้แบบฟอร์มสำหรับการรายงานงบการเงินอย่างไร ให้มีความถูกต้องครบถ้วน ? ตอบ : การจัดทำรายงานฐานะทางการเงินสำหรับโครงการพิเศษ หน่วยงานดำเนินการได้ดังนี้ 1) จัดทำตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด และจัดทำบันทึกข้อความเสนอต่อผู้บริหารตามลำดับขั้น โดยมีรายละเอียดแสดงถึงการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานฐานะการเงินอย่างครบถ้วนถูกต้อง และผ่านความเห็นชอบจากหัวหน้างานคลัง ประธานหลักสูตร และคณบดี เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการและสภาวิชาการภายใน 180 วัน นับจากสิ้นปีงบประมาณรายได้ประจำปี ทั้งนี้ ต้องมีมติของคณะกรรมการ บริหารหลักสูตรเกี่ยวกับการไม่ประสงค์ให้ผู้สอบบัญชีภายนอกร่วมตรวจสอบรายงานฐานะการเงิน 2) จัดทำรายงานฐานะทางการเงิน โดยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรอง และผ่านความเห็นชอบจากหัวหน้างานคลัง ประธานหลักสูตร และคณบดี เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการและสภาวิชาการภายใน 180 วัน นับจากสิ้นปีงบประมาณรายได้ประจำปี กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 30 มิ.ย. 2564 |
10) | ถาม : เงินรางวัลค่าตีพิมพ์วารสาร (อาจารย์ได้รับรางวัลเพียงครั้งเดียว) หักภาษี ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 40(1) ใช่หรือไม่ ? ตอบ : ภ.ง.ด.1 คือ ค่าใช้จ่ายในกลุ่มของพนักงานที่จ่ายแบบต่อเนื่อง หากหักครั้งเดียวเฉพาะตอนได้รางวัล ต้องยื่น ภ.ง.ด.3 เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่เป็นเงินรางวัลในการประกวด การแข่งขัน หักไว้ในอัตราร้อยละ 5 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 1 ก.พ. 2566 |
[ ผู้โหวตทั้งหมด : 1 คะแนนเฉลี่ย : 5 ]