ลำดับ | ถาม-ตอบ ข้อสงสัย | ข้อมูล ณ วันที่ |
---|---|---|
1) | ถาม : การบรรยายพิเศษโดยอาจารย์พิเศษจากภายนอกมหาวิทยาลัย สำหรับการจัดเตรียมหลักสูตรนานาชาติ สามารถเบิกจ่ายได้หรือไม่ และใช้เอกสารอะไรประกอบการเบิกจ่ายบ้าง ? ตอบ : สามารถเบิกจ่ายได้ตามจำนวนชั่วโมงตามตารางสอนซึ่งมีในรายละเอียดวิชา หลักฐานเบิกจ่ายใช้หนังสือเชิญและแบบฟอร์มหลักฐานการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษโดยลงลายมือชื่ออาจารย์ผู้สอนพิเศษที่รับเงินหรือใช้ใบสำคัญการรับเงินประกอบ ที่แสดงรายละเอียดวันเวลาและวิชาที่สอน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 31 มี.ค. 2563 |
2) | ถาม : กรณีผู้บริหารที่มีตำแหน่งทางการบริหารมากกว่า 1 ตำแหน่งจะเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนในตำแหน่งทั้ง 2 ทางได้หรือไม่อย่างไร ? ตอบ : กรณีผู้บริหารดำรงตำแหน่งทางการบริหารมากกว่า 1 ตำแหน่งสามารถเบิกจ่ายค่าตอบแทนในตำแหน่งได้เพียงตำแหน่งเดียวที่มีอัตราสูงกว่าเท่านั้น กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 31 มี.ค. 2563 |
3) | ถาม : กรณีนักศึกษาเสียชีวิต สามารถเบิกจ่ายเงินช่วยเหลืออะไรได้บ้าง ? ตอบ : สามารถเบิกจ่ายได้ ดังนี้ 1. ค่าพวงหรีด เพื่อแสดงความเสียใจ โดยเบิกในลักษณะเป็นผู้ที่มีความเหมาะสม จำนวนเงิน 1,000 บาท 2. เงินช่วยเหลือ กรณีสูญเสียชีวิตของนักศึกษา เบิกจ่ายได้ 130,000 บาท ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือนักศึกษา ครอบครัวของนักศึกษา กรณีนักศึกษาเสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะจากการประสบเหตุหรือประสบภัยต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 30 มิ.ย. 2563 |
4) | ถาม : เงินประจำตำแหน่งของพนักงานในตำแหน่งผู้บริหารของหน่วยงาน ที่มีคำสั่งแต่งตั้งให้รักษาการระยะเวลา 6 เดือนและแต่งตั้งใหม่หลังจากหมดวาระ สามารถเบิกเงินประจำตำแหน่งได้หรือไม่ ? ตอบ : สามารถเบิกจ่ายได้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 31 มี.ค. 2564 |
5) | ถาม : หน่วยงานสามารถเบิกจ่ายเงินค่าของที่ระลึกให้กับหน่วยงานที่รับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์ ได้หรือไม่ ? ตอบ : ไม่สามารถเบิกได้ เนื่องจากไม่มีระเบียบให้เบิกจ่าย ทั้งนี้ หากหน่วยงานมีความประสงค์จะเบิกจ่ายให้ทำเรื่องขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารงานคลังและพัสดุ และหากพิจารณาแล้วว่าจะมีการใช้จ่ายลักษณะนี้ในครั้งต่อๆไป ให้คณะเสนอผ่านคณะกรรมการคณะ และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารงานคลังและพัสดุเพื่อออกเป็น ประกาศมหาวิทยาลัยต่อไป กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 31 มี.ค. 2564 |
6) | ถาม : การรับตำแหน่งผู้อำนวยการของหน่วยงาน มีแนวปฏิบัติที่ถูกต้องเรื่องการตรวจสอบทรัพย์สินก่อนการรับตำแหน่ง อย่างไรบ้าง ? 1. ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินหรือไม่ ? 2. จากข้อ 1 หากต้องแต่งตั้ง เป็นหน้าที่ของผู้ใดแต่งตั้ง ? 3. กรรมการที่จะแต่งตั้งต้องมีคุณสมบัติยังไงบ้าง สามารถแต่งตั้งบุคคลภายนอก เช่น นักตรวจสอบภายในจากกองตรวจสอบ และนักวิชาการพัสดุจากกองคลังด้วยได้หรือไม่ ? 4. ต้องตรวจสอบทรัพย์สินใดบ้าง ? ตอบ : 1. ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับส่งงานในหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2524 ข้อ 15 (2) และ ข้อ 16 2. สามารถแต่งตั้งกรรมการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยแต่งตั้งบุคคลภายนอกได้ แต่หากเป็นนักตรวจสอบภายในอาจจะไม่เหมาะสม เป็นการขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflict of interest) เนื่องจากนักตรวจสอบภายในปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบหรือสอบทาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 31 มี.ค. 2564 |
7) | ถาม : เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการประจำหน่วยงานให้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกองฯ โดยไม่มีคำสั่งแต่งตั้ง มีเพียงมติกรรมการประจำหน่วยงาน สามารถเบิกจ่ายค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง ได้หรือไม่ ? ตอบ : ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เนื่องจากการเบิกค่าตอบแทนเงินประจำตำแหน่งจะต้องได้รับการแต่งตั้งโดยออกเป็นคำสั่งของมหาวิทยาลัยและมีผลนับแต่วันที่คำสั่งนั้นมีผลบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 30 มิ.ย. 2564 |
8) | ถาม : การลาศึกษาต่อของอาจารย์ โดยต้นสังกัดมีความประสงค์ให้กลับเข้าปฏิบัติราชการก่อนครบกำหนดวันลา เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรในหน่วยงาน จะได้รับเงินทุนตามที่ได้รับปกติจนกว่าจะครบกำหนดวันลาหรือไม่ ? ตอบ : ได้รับเงินทุนการศึกษาและเบี้ยเลี้ยงตามปกติจนครบกำหนดวันลา เนื่องจากเป็นเหตุที่หน่วยงานต้องการบุคลากรเพื่อมาปฏิบัติงาน โดยทั้งหน่วยงานและผู้ลาศึกษาต่อยังไม่ได้ยกเลิกสัญญาการให้ทุน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 30 ก.ย. 2564 |
9) | ถาม : การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์นามบัตรของผู้ช่วยรองคณบดี สามารถเบิกจ่ายได้หรือไม่ ? ตอบ : ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เนื่องจากผู้ช่วยรองคณบดีไม่จัดเป็นผู้บริหารของส่วนงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 31 มี.ค. 2565 |
10) | ถาม : ค่าตอบแทนกรรมการสอบสัมภาษณ ตามประกาศ มข. 466/2563 ตัวอย่างเช่น กรรมการสอบสัมภาษณ์ 5 คน ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ 1 คน เบิกจ่ายได้ในอัตราเท่าไร ? ตอบ : เบิกจ่ายได้ 50 บาท เนื่องจากในประกาศฯ กำหนดอัตราการจ่ายต่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ ไม่ว่ากรรมการสัมภาษณ์มีจำนวนเท่าไรก็ตาม ก็เบิกจ่ายได้ตามจำนวนผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 9 ก.พ. 2566 |
11) | ถาม : ปัจจุบันประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 731/2565 เรื่องหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน ได้กำหนดเหลักเกณฑ์ในการเบิกจ่ายค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงานเอาไว้ หากหน่วยงานต้องการเบิกจ่ายค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงานตาม หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.7/ว 142 เรื่องการเบิกจ่ายค่าตอบแทนนักเรียน นักศึกษาที่ช่วยปฏิบัติงานราชการที่ไม่อยู่ในช่วงปิดภาคเรียน และ หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.4/ว 30 เรื่องการเบิกจ่ายค่าตอบแทนนักเรียน นักศึกษาที่ช่วยปฏิบัติงานราชการ สามารถทำได้หรือไม่ ? ตอบ : การเบิกจ่ายค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงาน ต้องดูตามแหล่งงบประมาณที่ใช้ในการเบิกจ่าย ดังนี้
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 27 มิ.ย. 2566 |
12) | ถาม : การเบิกจ่ายเงินค่าจ้างนักศึกษาช่วยงาน วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00-20.30 น. คิดเป็น 3 ชั่วโมงครึ่ง เบิกจ่าย 3 ชั่วโมง รวม 150 บาท แต่ให้นักศึกษาพักรับประทานอาหารครึ่งชั่วโมง วิธีปฏิบัตินี้จะขัดกับประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 731/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน ข้อ 7 หรือไม่ ? ตอบ : หลักการคำนวณชั่วโมงตามประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 731/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงานกำหนดเป็นชั่วโมง ดังนั้นการจ้างงานในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00-20.30 น. คิดเป็น 3 ชั่วโมงครึ่ง เบิกจ่ายเงิน 3 ชั่วโมง รวม 150 บาท ถูกต้องแล้ว และ ข้อ 7 ไม่ได้กำหนดจำนวนชั่วโมงที่จะจ้างต่อวัน และอัตราจ้างมีอัตราจ้างสูงสุดไม่เกิน 50 บาท/ชั่วโมง/คน รวมถึงไม่ได้กำหนดวันเวลาการจ้างว่าเป็นวันหยุดหรือนอกเวลาราชการ กล่าวคือ จะจ้างงานกี่ชั่วโมงต่อวันแต่ต้องจ่ายเงินไม่เกิน 300 บาทต่อคน โดยคำนึงถึงความเหมาะสม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
| 27 มิ.ย. 2566 |
ถาม-ตอบ ข้อสงสัย (Q&A) : ผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษา
[ ผู้โหวตทั้งหมด : 0 คะแนนเฉลี่ย : 0 ]